เชื่อว่ามีหลายคน โดยเฉพาะพนักงานออฟฟิศผู้มุ่งมั่นไฟแรงที่อาจบอกกับตัวเองง่าย ๆ ว่า "ขี้เกียจ" กับการออกไปรับประทานอาหารกลางวันนอกบริษัท และเลือกหนทางที่ง่ายกว่าด้วยการซื้อข้าวกล่อง หรืออาหารง่าย ๆ ประเภทอิ่มสะดวก (โดยซื้อเตรียมไว้ตั้งแต่เช้า) มารับประทานที่โต๊ะทำงานแทน
การนั่งติดอยู่กับโต๊ะตั้งแต่เริ่มงานจนพักเที่ยงก็ไม่ได้ลุกไปไหนและอาจลากยาวไปถึงบ่ายอาจทำให้คุณดูเหมือนหนุ่มสาวไฟแรง มีความขยัน อดทน สู้งานหนัก มีความมุ่งมั่นกับงานที่ได้รับมอบหมายในสายตาเจ้านาย
แต่ข้อเสียของมันต่อร่างกายก็มีมากมายไม่แพ้กัน เพราะเป็นที่ทราบกันดีว่า
ลักษณะการทำงานของพนักงานออฟฟิศในปัจจุบันนั้นเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคหัวใจ และโรคอื่น ๆ ได้อีกมากมายกับตัวพนักงานเอง
แถมยังมีความจริงที่ว่า การที่ร่างกายไม่ได้เคลื่อนไหวนั้นยังอาจทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายอย่างเฉียบพลันได้อีกด้วย โดยเฉพาะกับอวัยวะสำคัญ เช่น หลอดเลือด
ที่ทำหน้าที่ส่งเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
จากการสำรวจกลุ่ม
คนทำงานรุ่นใหม่ไฟแรงอายุระหว่าง 21 - 30 ปี และกลุ่มนักเล่นเกมอายุระหว่าง
16 - 21 ปีจำนวน 1,000 คน โดย ComRes พบว่า 73
เปอร์เซ็นต์ของกลุ่มพนักงานออฟฟิศยอมรับว่า
ตนเองรับประทานอาหารกลางวันที่โต๊ะทำงาน ส่วนกลุ่มนักเล่นเกมนั้นพบว่า 9 ใน
10 คนยอมรับว่าตนเองนั่งเล่นเกมโดยไม่ได้เปลี่ยนอิริยาบถนานเกิน 90 นาที
ซึ่งทาง ComRes ระบุว่า หากร่างกายไม่มีการเคลื่อนไหวนานเกิน 90 นาที
อัตราการไหลเวียนของเลือดบริเวณใต้หัวเข่าลงไปจะลดลงถึง 50 เปอร์เซ็นต์
ด้านนักวิจัยจากสถาบันวิจัยทางการแพทย์ของนิวซีแลนด์ก็ยังได้ทำการสำรวจในประเด็นใกล้เคียงกัน โดยสำรวจกลุ่มคนทำงาน 400
คนที่มักมีพฤติกรรมรับประทานอาหารที่โต๊ะทำงาน โดยพบว่า ในกลุ่มคนเหล่านี้
มีความเสี่ยงที่เลือดจะจับตัวเป็นลิ่มสูงกว่าคนทั่วไปถึง 2.2 เท่า
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่เพาะความอ่อนแอให้ตัวเองขนาดนี้
ต่อให้ตำแหน่งแห่งหนในการทำงานพร้อมจะให้โอกาสคุณโต
แต่ตัวคุณเองจะรับบทนั้นได้หรือไม่ ยากจะตอบได้
บทความโดย หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ
ที่มา foodietaste.com
วันอาทิตย์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
"หม่ำมื้อกลางวันที่โต๊ะ" อาจไม่โตในหน้าที่การงาน
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น